ต้นจันทน์แดง พรรณไม้ในพุทธประวัติ

ต้นจันทน์แดง พรรณไม้ในพุทธประวัติ

ในพุทธประวัติกล่าวว่า พรรษาที่ ๖ มีเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ได้ปุ่มไม้จันทน์แดง จึงนำมาทำเป็นบาตร แล้วนำไปแขวนไว้บนยอดเสาซึ่งทำขึ้นจากไม้ไผ่ต่อกันจนสูงถึง ๖๐ ศอก และประกาศว่าผู้ใดสามารถเหาะมาเอาบาตรไปได้ จะเชื่อว่าผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ พระปิณโฑลภารทวาชเถระได้แสดงปาฏิหาริย์ นำเอาบาตรมาได้ ความทราบถึงพระพุทธเจ้า ทรงตำหนิในการกระทำเช่นนั้น รับสั่งให้ทำลายบาตรไม้จันทน์แดงนั้นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วให้นำไปบดทำเป็นยา และทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามมิให้สาวกแสดงปาฏิหาริย์อีกต่อไป

ต้นจันทน์แดง พรรณไม้ในพุทธประวัติ
ชื่อพื้นเมือง: จันทน์แดง, จันทน์แดงอินเดีย, รักตจันทน์, สื่อทัน (จีน)
ชื่อบาลี: รตฺตจนฺทน (รัต-ตะ-จัน-ทะ-นะ), รตฺตจนฺทนํ (รัต-ตะ-จัน-ทะ-นัง), สีสก (สี-สะ-กะ)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pterocarpus santalinus Linn. filius.
ชื่อสามัญ: Red Sandal Wood, Red Santal, Ruby Wood, Chandam, Red Saunders, Santalum Rubrum
ชื่อวงศ์: FABACEAE
ถิ่นกำเนิด: ประเทศในแถบอินโดจีนและตอนใต้ของอินเดีย
สภาพนิเวศน์: ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ
ลักษณะทั่วไป: ต้นจันทน์แดง เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เปลือกต้นสีน้ำตาลดำ ยางสีแดงเข้ม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยรูปไข่ ปลายใบเว้าเข้า ก้านใบมีขนนุ่ม เนื้อใบคล้ายแผ่นหนัง ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีเหลือง รูปดอกเหมือนรูปดอกถั่ว ผลเป็นฝักแห้ง มีลักษณะกลมแบนมีปีก ภายในมี 2 เมล็ด เมล็ดเกลี้ยง สีน้ำตาลแดง
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
ประโยชน์: ในแก่นมีสารสีแดง ชื่อ “santalin” เป็นสีที่ละลายในแอลกอฮอล์ ใช้แต่งสีในยาบางชนิด ต้นใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เนื่องจากเป็นไม้โตช้าและหายาก เฟอร์นิเจอร์จากไม้ชนิดนี้จึงหายากและราคาแพง ใช้เป็นยารักษาได้หลายอย่าง เช่น แก้อักเสบ โรคบิด ตกเลือด บำรุงกำลัง ใช้เป็นยาแก้ไข้ ยาถ่ายพยาธิ แก้ปวดบวม


พรรณไม้ในพุทธประวัติ

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิงและรูปภาพจากเว็บไซต์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง