จำพรรษาที่ควงไม้สะเดา เมืองเวรัญชา

จำพรรษาที่ควงไม้สะเดา เมืองเวรัญชา

จำพรรษาที่ควงไม้สะเดา เมืองเวรัญชา พรรณไม้ในพุทธประวัติ ต้นไม้ในพุทธประวัติ

พรรษาที่ ๑๑ พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาภายใต้จิมมันทพฤกษ์ คือไม้สะเดาอันเป็นมุขพิมานของเฬรุยักษ์ใกล้นครเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป ในครั้งนั้นเวรัญชพราหมณ์ ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ณ ควงไม้สะเดานั้น ครั้นผ่านการปราศรัยกับพระพุทธเจ้าแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า พระสมณโคดมไม่ไหว้ ไม่ลุกรับผู้ใด เพราะเหตุไรจึงเป็นเช่นนั้น ไม่เป็นการสมควรมิใช่หรือ ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พระองค์ไม่ไหว้ หรือลุกรับใครเพราะ ในโลก เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ พระองค์ไม่เล็งเห็นบุคคลที่พระองค์ควรไหว้ ลุกรับ หรือเชื้อเชิญด้วยอาสนะ เพราะถ้าพระองค์ทำเช่นนั้น ศีรษะของบุคคลนั้นก็จะขาดตกไป

พระพุทธองค์ไม่เป็นรสชาติ เพราะรสในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเหล่านั้น พระองค์ละได้แล้ว

พระพุทธองค์เป็นคนไม่มีโภคะ เพราะโภคะ คือ รูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะเหล่านั้น พระองค์ละได้แล้ว

พระพุทธองค์เป็นคนกล่าวการไม่ทำ เพราะทรงกล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต

พระพุทธองค์เป็นคนกล่าวความขาดสูญ เพราะทรงกล่าวความขาดสูญแห่งราคะ โทสะ โมหะ

พระพุทธองค์เป็นคนช่างเกลียด เพราะทรงกล่าวการเกลียดกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต

พระพุทธองค์เป็นคนกำจัด เพราะทรงแสดงธรรมเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ

พระพุทธองค์เป็นคนเผาผลาญ เพราะเรากล่าวธรรมที่เป็นบาปอกุศลคือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมควรเผาผลาญ ซึ่งพระองค์ละได้แล้ว ทรงเป็นคนเผาผลาญ

พระพุทธองค์เป็นคนไม่ผุดเกิด เพราะทรงละการนอนในครรภ์ การเกิดในภพใหม่ได้แล้ว

ในบรรดาหมู่สัตว์ผู้ตกอยู่ในอำนาจอวิชชา พระองค์ผู้เดียวเท่านั้นที่สามารถทำลายอวิชชาได้ และได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดของโลก เพราะทรงปรารภความเพียร ดำรงสติมั่น บรรลุฌาน ๔ สำเร็จวิชชา ๓ คือ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ และอาสวักขยญาณ

พระพุทธเจ้าทรงแก้ข้อสงสัยเกี่ยวกับพระองค์ที่เวรัญชพราหมณ์ได้ยินมา ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบอกเวรัญชพราหมณ์ว่าสิ่งที่ได้ยินมานั้นถูกต้อง แต่ไม่ใช่ด้วยเหตุที่เวรัญชพราหมณ์กล่าวมา เมื่อพระผู้มีพระพุทธเจ้าอธิบายจบ เวรัญชพราหมณ์ได้ประกาศตนเป็นอุบาสกผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะตลอดชีวิต


พรรณไม้ในพุทธประวัติ

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิงและรูปภาพจากเว็บไซต์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง