ต้นบุนนาค
ต้นไม้ประจำจังหวัดพิจิตร
ต้นไม้ประจำจังหวัด
พิจิตร
ชื่อพันธุ์ไม้
ต้นบุนนาค
ชื่อสามัญ
Iron Wood, Indian Rose Chestnut
ชื่อวิทยาศาสตร์
Mesua ferrea Linn.
วงศ์
OUTTIFERAE
ชื่ออื่น
ก๊าก่อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ก้ำกอ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), บุนนาค (ทั่วไป), ปะนาคอ (มลายู-ปัตตานี, สารภีดอย (เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไป
ต้นบุนนาคเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 15–25 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา เรือนยอดเป็นพุ่มทึบรูปเจดีย์ต่ำ ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียว รูปไข่ยาวเรียวแคบ ขอบใบเรียบ ท้องใบสีขาวนวลอมเทาเป็นมันคล้ายใบมะปราง ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุกสีขาวนวล กลีบดอกมี 5 กลีบและมีกลิ่นหอม เกสรเพศผู้เป็นฝอยสีเหลืองจำนวนมาก ผลเป็นรูปไข่ เปลือกแข็ง
ขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
สภาพดินร่วนปนทราย และดินร่วนที่มีความชุ่มชื้น
ถิ่นกำเนิด
เกิดขึ้นตามธรรมชาติตามป่าทั่วไป
คำขวัญประจำจังหวัดพิจิตร
ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ แข่งเรือยาวประเพณี พระเครื่องดีหลวงพ่อเงิน เพลิดเพลินบึงสีไฟ ศูนย์รวมใจหลวงพ่อเพชร รสเด็ดส้มท่าข่อย ข้าวเจ้าอร่อยลือเลื่อง ตำนานเมืองชาละวัน
ต้นไม้ประจำจังหวัด
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กาฬสินธุ์ขอนแก่นชัยภูมินครพนมนครราชสีมาบึงกาฬบุรีรัมย์มหาสารคามมุกดาหารยโสธรร้อยเอ็ดเลยศรีสะเกษสกลนครสุรินทร์หนองคายหนองบัวลำภูอำนาจเจริญอุดรธานีอุบลราชธานี
ภาคกลาง
กรุงเทพมหานครกำแพงเพชรชัยนาทนครนายกนครปฐมนครสวรรค์นนทบุรีปทุมธานีพระนครศรีอยุธยาพิจิตรพิษณุโลกเพชรบูรณ์ลพบุรีสมุทรปราการสมุทรสงครามสมุทรสาครสระบุรีสิงห์บุรีสุโขทัยสุพรรณบุรีอ่างทองอุทัยธานี