มะม่วง

มะม่วง

มะม่วง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Mangifera indica Linn.

ชื่อวงศ์

ANACARDIACEAE

ชื่อสามัญ

Mango Tree

ชื่อท้องถิ่น

  • ทั่วไป เรียก มะม่วงบ้าน, มะม่วงสวน
  • กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี เรียก ขุ ,โคก
  • จันทบุรี เรียก เจาะ ช๊อก ช้อก
  • นครราชสีมา เรียก โตร้ก
  • มลายู-ภาคใต้ เรียก เปา
  • ละว้า-เชียงใหม่ เรียก แป
  • กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียก สะเคาะ, ส่าเคาะส่า
  • เขมร เรียก สะวาย
  • เงี้ยว-ภาคเหนือ เรียก หมักโม่ง
  • จีน เรียก มั่งก้วย

ลักษณะทั่วไป

มะม่วงเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10–30 เมตร ใบเดี่ยวสีเขียว ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ปลายใบแหลม ดอกเป็นช่อ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรสีแดงเรื่อๆ ดอกออกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงฤดูร้อนจะติดผล ผลยาวประมาณ 5–20 ซม. กว้าง 4–8 ซม. ลูกดิบสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเหลืองส้ม มีเมล็ดภายใน 1 เมล็ด

การปลูก

มะม่วงควรปลูกในหน้าฝนเจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ปลูกกลางแจ้ง การขยายพันธุ์ทำได้โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง

สรรพคุณทางยา

  • ผลสดแก่ รับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำ
  • ผลสุก หลังรับประทานแล้วล้างเมล็ดตากแห้ง ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง รับประทานแก้ท้องอืดแน่น ขับพยาธิ
  • ใบสด 15–30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ท้องอืดแน่น เอาน้ำต้มล้างบาดแผลภายนอกได้
  • เปลือกต้น ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ไข้ตัวร้อน
  • เปลือกผลดิบ คั่วรับประทานร่วมกับน้ำตาล แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจำเดือน แก้ปวดประจำเดือน

คติความเชื่อ

มะม่วงเป็นต้นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คนโบราณเชื่อว่าหากนำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้านทางทิศใต้ (ทักษิณ) จะทำให้เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยมีความร่ำรวยยิ่งขึ้น

มะม่วง


ทิศอุดร (ทิศเหนือ)

ทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)

ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)

ทิศอาคเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)

ทิศทักษิณ (ทิศใต้)

ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)

ทิศประจิม (ทิศตะวันตก)

ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง