ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดอกทองกวาว

ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ดอกทองกวาว

ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดอกทองกวาว

ชื่อสามัญ

Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree

ชื่อวิทยาศาสตร์

Butea monosperma Kuntze.

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง)

ถิ่นกำเนิด

ที่ราบลุ่มในป่าผลัดใบ ป่าหญ้าหรือป่าละเมาะที่แห้งแล้ง พบมากทางภาคเหนือ

ขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

ลักษณะทั่วไป

ต้นทองกวาวเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 8–15 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำแตกเป็นร่องตื้นๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบออกสลับกัน ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งก้านและที่ปลายกิ่ง ดอกสีเหลืองถึงแดงแสด ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบน มีเมล็ดที่ปลายฝัก

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง