ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ต้นอินทนิล
เกี่ยวกับการเลือกพันธุ์ไม้นี้เป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย อันเนื่องมาจากแม่โจ้ “มหาวิทยาลัยแม่โจ้” มีอายุครบ 50 ปี ในเดือนมิถุนายน 2527 คณะกรรมการศิษย์เก่าแม่โจ้และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย โดย นายจำนงค์ โพธิสาโร อธิบดีกรมป่าไม้สมัยนั้น อุปนายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้เป็นประธาน ได้เสนอชื่อพรรณไม้ที่ทนต่อสภาพแวดล้อมและเจริญเติบโต ในทุกภาคของประเทศไทย เป็นพันธุ์ลักษณะที่ดี มีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง อายุยืนนาน ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะใบเดี่ยว ดอกสีม่วง ม่วงชมพู มีฉายานามว่าเป็น “ราชินีดอกไม้” (Queen’s Flower) ฝักผลไม่ยอมทิ้งต้น มีสายพันธ์อีกหลายชนิดในวงศ์เดียว มีดอกเป็นลักษณะ Qeen’s crape myrtle เช่น ตะแบก, เสลา และยี่เข่ง เป็น Qrape myrtle เหมือนกัน
คณะกรรมการได้ลงมติเลือกชื่อพรรณไม้ “อินทนิล” นี้เป็นมงคลนามต่อมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความหมายถึงความผูกพันกับมหาวิทยาลัย อินทนิลมีลักษณะของช่อดอกเกาะกันเป็นกลุ่มแน่น สีสวยสด เหมือนความรัก ความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความผูกพันอยู่กับมหาวิทยาลัยของศิษย์เก่าตลอดเวลาที่ออกไปประกอบอาชีพอยู่ทุกหนทุกแห่ง
อินทนิล หรือไม้ในวงศ์นี้ เป็นไม้เศรษฐกิจ เนื้อแข็งปานกลางจนถึงแข็ง ใช้เป็นไม้ประดับให้ร่มเงา ดอกสีสวยสดงดงาม ตลอดทั้งเปลือก ต้น ใบ ใช้เป็นยาสมุนไพร ดั่งคุณค่าของบรรดาศิษย์เก่าแม่โจ้ ที่ได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคมประเทศชาติเป็นระยะเวลาอันยาวนานกว่า 50 ปี
- อินทนิลเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูงประมาณ 50 ฟุต ลำต้นตรงเปลือกค่อนข้างดำหรือน้ำตาล มีลักษณะขรุขระ กิ่งแผ่กว้าง ใบรูปใข่กลับแกมขอบขนาน ยาวประมาณ 10 นิ้ว เนื้อใบหนาเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อยาวตามปลายกิ่ง ช่อตั้งตรง ดอกมีทั้งสีม่วง ม่วงแกมชมพู กลีบรองดอกติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 6 แฉก ผลรูปไข่เกลี้ยงยาวประมาณ 9 นิ้ว ออกดอกราวเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน การขยายพันธ์ใช้วิธีเพาะเมล็ด
- อินทนิลอยู่ในสกุล Lagerstroemia นี้ตั้งให้เป็นอนุสรณ์แก่ Magnus Lagerstroem พ่อค้าชาวสวีเดน ที่ได้พันธุ์ไม้นี้ไปจากแถบเอเชีย ไม้ต้นนี้มีชื่อพ้องว่า L.flos-reginae คือ Flower of the Queen แปลว่าดอกไม้แห่งราชินี เป็นการยกย่องความงามของดอกไม้นี้อย่างสูง
- อินทนิลเป็นไม้สัญลักษณ์ ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่แทนความแข็งแกร่ง บึกบึน ทรหด อดทน ของบรรดาลูกแม่โจ้ เนื่องจากอินทนิลเป็นไม้ยืนต้นที่แข็งแรง อายุยาวนานและเจริญเติบโตได้ทุกสภาพของประเทศไทย
- ช่อ มีลักษณะเกาะกันเป็นกลุ่มแน่น สีสด “เหมือนความรัก ความสามัคคี และความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งของลูกแม่โจ้” ที่มิมีวันจางหายไป
- อินทนิล เป็นต้นไม้ที่เจริญได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย เช่น “ลูกแม่โจ้ที่มาจากทุกหนทุกแห่ง” และกระจายกันออกไปเจริญเติบโตก้าวหน้าอยู่ทั่วทุกภาค ทั้งต้น เปลือก ใบ ใช้เป็นยาสมุนไพร “ดุจคุณค่าของบรรดาลูกแม่โจ้” ที่ได้รับได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคมประเทศชาติ เป็นระยะอันยาวนานกว่าครึ่งทุกภาค
ชื่อวิทยาศาสตร์
Lagerstroemia macrocarpa Wall.
วงศ์
LYTHRACEAE
ชื่ออื่น
จ้อล่อ, อินทนิลบก
ลักษณะทั่วไป
ต้นอินทนิลเป็นไม้ผลัดใบขนาดเล็ก สูง 5-12 เมตร เรือนยอดรูปไข่ เปลือกต้นสีเทาอ่อนหรือน้ำตาล มีปุ่มปมตามลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่กลับหรือรูปรีป้อม ปลายใบมนหรือแหลมติ่ง โคนสอบมน สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อตั้งที่ปลายกิ่ง ดอกมีขนาด 6-10 ซม. มี 6 กลีบ โคนคอดเป็นก้านสั้น สีม่วงสดแล้วซีดออกชมพู ออกดอกเดือนมีนาคม–พฤษภาคม ผลรูปไข่สีน้ำตาลอ่อนเป็นมัน กลีบเลี้ยงแข็ง มีเมล็ดจำนวนมาก
ขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
ในที่โล่งแจ้ง แสงแดดจัด ดินร่วนซุย
ถิ่นกำเนิด
เอเชียเขตร้อน กระจายทั่วไปในป่าโล่งแจ้งหรือป่าเต็งรัง