ดีปลี (Long Pepper)

ดีปลี (Long Pepper)

ดีปลีเป็นพืชเมืองร้อน มีถิ่นกำเนิดที่เกาะโมลัคคาส ในมหาสมุทรอินเดีย เป็นไม้เถามีรากฝอยออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะและเลื้อยพัน ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ผลแก่จัดที่นำไปตากให้แห้ง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสเผ็ดร้อนขม ใช้เป็นเครื่องเทศมีกลิ่นหอม และเผ็ดมากกว่าพริกไทย รสคล้ายขิง นิยมนำมาใช้แทนพริกไทย ใช้ปรุงรสแกงคั่ว แกงเผ็ด น้ำพริกลาบ ใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี และยังช่วยปรุงรสปรุงกลิ่นให้อาหารน่ารับประทาน โดยดีปลีจะดีกว่าพริกไทยในเรื่องของสรรพคุณ ลมเบ่งของมดลูก หรือลมที่ค้างในลำไส้ รวมไปถึงอาการกำเริบของเสมหะและลมปอด

ดีปลี (Long Pepper) พืชเครื่องเทศ
ชื่อสามัญ : Long Pepper
ชื่อวิmยาศาสตร์ : Piper retrofractum Vahl
วงศ์ : PIPERACEAE
ชื่ออื่น : ดีปลีเชือก ประดงข้อ ปานนุ ฟันพญาไฟ บี้ฮวด พิษพญาไฟ
ถิ่นกำเนิด : มีถิ่นกำเนิดที่เกาะโมลัคคาส (Moluccas) ในมหาสมุทรอินเดีย
ลักษณะทั่วไป : ดีปลีเป็นไม้เถามีรากฝอยออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะและเลื้อยพัน เถาค่อนข้างเหนียวและแข็ง มีข้อนูน แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย มีสีเขียวเข้มเป็นมัน กว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกย่อยอัดกันแน่น ลักษณะของผลอัดกันแน่นเป็นช่อรูปทรงกระบอก โคนใหญ่กว่าปลายไม่มาก ปลายเล็กมน ผลมีความยาวประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-8 เซนติเมตร ผิวของผลค่อนข้างหยาบ ผลสดมีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ผลย่อยมีเมล็ดเดียว โดยเมล็ดมีขนาดเล็กมาก ลักษณะกลมและแข็ง ผงของผลมีสีน้ำตาล มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสเผ็ดร้อน ขมปร่า นิยมเก็บผลมาใช้เมื่อผลเริ่มเป็นสีน้ำตาล แล้วนำมาตากแดดให้แห้ง
การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือปักชำเถาของดีปลี
การปลูก : ดีปลีเป็นพืชในเขตร้อนชื้น แต่สามารถทนแล้งได้ดี ควรปลูกในดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำดี ไม่มีน้ำขัง เจริญเติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น มีแสงแดดรำไร
สรรพคุณ : แก้ลม บำรุงธาตุไฟ แก้หืดไอ แก้เสมหะหลังเป็นหวัด แก้หลอดลมอักเสบ ยาขับระดู ยาธาตุ ทาแก้ปวดเมื่อยและอักเสบของกล้ามเนื้อ แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อแน่นจุกเสียด ขับลม บำรุงธาตุ ใช้เป็นยาขับพยาธิในท้อง ใช้ประกอบตำรายาที่ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ธาตุไม่ปกติ ข้อจำกัดในการใช้ หากรับประทานมากเกิน อาจทำให้คอแห้ง ร้อนท้อง คนเป็นโรคกระเพาะไม่ควรรับประทาน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง