พุทรา

พุทรา

พุทรา ปลูกต้นไม้ตามทิศ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Zizyphus mauritiana Lamk.

ชื่อวงศ์

RHAMNACEAE

ชื่อท้องถิ่น

  • ทั่วไป เรียก พุทรา
  • ภาคเหนือ เรียก มะตันหลวง, มะท้อง, มะตอง, มะตันต้น
  • ภาคอีสาน เรียก หมากทัน

ลักษณะทั่วไป

พุทราเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบกลมโตขนาด 1 นิ้ว ตามต้นและกิ่งก้านมีหนาม ออกดอกเป็นช่อเหลืองเล็กๆ มีกลิ่นเหม็นมาก ผลกลม บางชนิดผลกลมปลายแหลมคล้ายผลละมุดไทย บางชนิดมีรสหวานสนิท บางชนิดก็เปรี้ยวและฝาด โดยมากที่เกิดเองในป่ามีรสเปรี้ยว ฝาด

การปลูก

พุทราเป็นไม้ที่มักเกิดขึ้นเองตามป่าราบโดยทั่วไป ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง

สรรพคุณทางยา

  • เปลือกต้น,ใบ รสฝาดอมเปรี้ยว แก้อาการจุกเสียด แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน
  • ผลดิบ รสฝาด แก้ไข้
  • ผลสุก รสหวานฝาดเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ไอ เป็นยาระบาย

คติความเชื่อ

พุทราเป็นไม้ตามทิศที่ปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) ส่วนใหญ่นิยมปลูกคู่กับมะยม คาดว่าคงเป็นเพราะผู้คนจะได้นิยมไม่สร่างซา

พุทรา


ทิศอุดร (ทิศเหนือ)

ทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)

ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)

ทิศอาคเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)

ทิศทักษิณ (ทิศใต้)

ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)

ทิศประจิม (ทิศตะวันตก)

ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง