ตามประวัติศาสตร์ว่าไม้ดัดเริ่มมีการปลูกเลี้ยงกันในสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งแต่สมัยพระเอกาทศรัฐแต่ไม่ปรากฏแน่ชัดถึงผู้ริเริ่มปลูกคนแรก โดยการปลูกเลี้ยงไม้ดัดในสมัยนั้นนิยมกันในหมู่เจ้าขุนมูลนาย หรือคหบดีเท่านั้น ต่อมาเมื่อเสียกรุงฯครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2310 การเล่นไม้ดัดได้หยุดชะงักไป
ในต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การปลูกเลี้ยงไม้ดัดก็ได้รับความนิยมอีก และยังคงอยู่ในหมู่เจ้าขุนมูลนายเช่นเดิม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) ทรงโปรดเกล้าให้ปลูกไม้ดัดไว้ในพระบรมมหาราชวัง บริเวณพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัยซึ่งยังคงมีให้เห็นจนถึงปัจจุบัน
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และในรัชการต่อๆ มา การปลูกเลี้ยงไม้ดัดเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ และนิยมปลูกเลี้ยงลงในกระถางลายคราม
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 หลวงมงคลรัตน์ (ช่วง ไกรฤกษ์) ได้แต่งหนังสือตำราไม้ดัดไว้เป็นท่านแรก โดยได้ตำราต้นไม้ดัดมาจากพระด้วง ซึ่งเคยเป็นข้าฯ รับใช้เรื่องไม้ดัดของรัชกาลที่ 2 ซึ่งหลวงมงคลรัตน์ได้แต่งตำราไม้ดัดเป็นโคลง เพื่อจะได้เป็นตำราที่คงอยู่ถาวรเป็นลายลักษณ์อักษร และได้ใช้เป็นแม่บทตำราไม้ดัดไทยมาจนถึงทุกวันนี้