ดอกประดู่
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Plerocarpus Indicus |
ชื่อวงศ์ | FABACEAE |
ชื่อสามัญ | Padauk |
ชื่ออื่นๆ | Burmese Rosewood, ประดู่, ดู่บ้าน, สะโน (ภาคใต้) |
ถิ่นกำเนิด | ประเทศอินเดีย |
การขยายพันธุ์ | เพาะเมล็ด |
ประวัติและข้อมูลทั่วไป | |
ประดู่เป็นพรรณไม้ของอินเดีย ชอบแสงแดดจัดดังนั้นจึงเห็นปลูกกันตามริมถนนใน กทม. ทั่วไป | |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ | |
ประดู่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ 25 เมตร ใบจะออกรวมกันเป็นช่อ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม ถ้าขึ้นในที่แล้งจะผลัดใบก่อนออกดอก ดอกออกเป็นช่อมีสีเหลืองสดลักษณะคล้ายดอกถั่ว โคนกลีบเลี้ยงกลีบดอกติดกันเป็นกรวยโค้งเล็กน้อย กลีบดอกมี 5 กลีบ มีขนาดดอกเล็ก ขณะดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-1 ซม. ดอกบานไม่พร้อมกัน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกที่ใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ฤดูดอกบานอยู่ในช่วง เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม | |
การปลูกและดูแลรักษา | |
ประดู่เป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ความชื้นสูง ต้องการน้ำปานกลาง สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด แต่จะให้ดีควรเป็นดินร่วนซุย |
เพลงอุทยานดอกไม้
ชม ผกา จำปา จำปี
กุหลาบ ราตรี พะยอม อังกาบ ทั้ง กรรณิการ์
ลำดวน นมแมว ซ่อนกลิ่น ยี่โถ ชงโค มณฑา
สายหยุด เฟื่องฟ้า ชบา และ สร้อยทอง…
บานบุรี ยี่สุ่น ขจร
ประดู่ พุดซ้อน พลับพลึง หงอนไก่ พิกุล ควรปอง
งาม ทานตะวัน รักเร่ กาหลง ประยงค์ พวงทอง
บานชื่น สุขสอง พุทธชาด สะอาดแซม
(ซ้ำ)…พิศ พวงชมพู
กระดังงา เลื้อยเคียงคู่ ดูสดสวยแฉล้ม
รสสุคนธ์ บุญนาค นางแย้ม สารภี ที่ถูกใจ…
…งาม อุบล ปน จันทร์กะพ้อ
ผีเสื้อแตกกอ พร้อมเล็บมือนาง พุดตาน กล้วยไม้
ดาวเรือง อัญชัน ยี่หุบ มะลิวัลย์ แลวิไล
ชูช่อไสว เร้าใจในอุทยาน…(ซ้ำ)