ดอกหงอนไก่
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Celosia Argentea L. var cristata (L.) Kuntze |
ชื่อวงศ์ | AMARANTHACEAE |
ชื่อสามัญ | Cockscomb |
ชื่ออื่นๆ | Wool flower, หงอนไก่ |
ถิ่นกำเนิด | – |
การขยายพันธุ์ | เพาะเมล็ด |
ประวัติและข้อมูลทั่วไป | |
หงอนไก่เป็นดอกไม้มีลำต้นสูงพอสมควร ส่วนดอกมีทั้งสีแดงเข้ม ขาวและเหลือง มีรูปคล้ายกับหงอนไก่เป็นจักๆ | |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ | |
หงอนไก่เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 20 นิ้ว สีของลำต้นสีเขียว ต้นมักจะแตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเป็นใบเดี่ยวออกใบเป็นกลุ่ม ใบแต่ละกลุ่มจะมีใบใหญ่อยู่หนึ่งใบ รูปใบมนรี ปลายใบแหลม ขนาดใบใหญ่ประมาณ 3-4 ซม. นอกนั้นเป็นใบย่อยขนาดเล็ก ออกดอกดก และดอกมีสีสันรุนแรงคล้ายหงอนไก่ มีหลายสีเช่นแดงสด ขาวและเหลือง | |
การปลูกและดูแลรักษา | |
หงอนไก่เป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี |
เพลงอุทยานดอกไม้
ชม ผกา จำปา จำปี
กุหลาบ ราตรี พะยอม อังกาบ ทั้ง กรรณิการ์
ลำดวน นมแมว ซ่อนกลิ่น ยี่โถ ชงโค มณฑา
สายหยุด เฟื่องฟ้า ชบา และ สร้อยทอง…
บานบุรี ยี่สุ่น ขจร
ประดู่ พุดซ้อน พลับพลึง หงอนไก่ พิกุล ควรปอง
งาม ทานตะวัน รักเร่ กาหลง ประยงค์ พวงทอง
บานชื่น สุขสอง พุทธชาด สะอาดแซม
(ซ้ำ)…พิศ พวงชมพู
กระดังงา เลื้อยเคียงคู่ ดูสดสวยแฉล้ม
รสสุคนธ์ บุญนาค นางแย้ม สารภี ที่ถูกใจ…
…งาม อุบล ปน จันทร์กะพ้อ
ผีเสื้อแตกกอ พร้อมเล็บมือนาง พุดตาน กล้วยไม้
ดาวเรือง อัญชัน ยี่หุบ มะลิวัลย์ แลวิไล
ชูช่อไสว เร้าใจในอุทยาน…(ซ้ำ)