ดอกทานตะวัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Helianthus annuus |
ชื่อวงศ์ | COMPOSITAE |
ชื่อสามัญ | Common Sunflower |
ชื่ออื่นๆ | ทานตะวัน |
ถิ่นกำเนิด | อเมริกาตะวันตก |
การขยายพันธุ์ | เพาะเมล็ด |
ประวัติและข้อมูลทั่วไป | |
ดอกทานตะวันเป็นดอกไม้สีเหลือง ดอกใหญ่กว่าดอกรักเร่เป็นที่สะดุดตามาก นิยมปลูกเป็นแปลง เป็นไม้ที่ปลูกง่ายและโตเร็ว เมื่อออกดอกแล้วดอกจะหันไปทางทิศตะวันออก เป็นการทานตะวัน ไม่หันไปทางทิศอื่นจึงได้ชื่อว่า ดอกทานตะวัน | |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ | |
ทานตะวันลักษณะของลำต้นจะตรง สูงประมาณ 3-4 ฟุต แต่ถ้าปลูกในถิ่นที่มีอากาศเย็นอาจสูงได้ถึง 6 ฟุต ใบจะออกสลับกัน ลักษณะของใบกลมรีกว้างประมาณ 4-8 นิ้ว ยาว 1 ฟุต ขอบใบเป็นรอยจักฟันเลื่อย ปลายใบแหลม ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกบานเต็มที่โตประมาณ 5-10 นิ้ว มีสีเหลืองสด ตรงกลางดอกมีเกสรเป็นวงเกือบเท่าตัวดอก กลีบดอกบานแผ่เป็นวงกลมทำให้เกสรดอกเด่นชัดขึ้น | |
การปลูกและดูแลรักษา | |
ทานตะวันเป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ต้องการน้ำปานกลาง |
เพลงอุทยานดอกไม้
ชม ผกา จำปา จำปี
กุหลาบ ราตรี พะยอม อังกาบ ทั้ง กรรณิการ์
ลำดวน นมแมว ซ่อนกลิ่น ยี่โถ ชงโค มณฑา
สายหยุด เฟื่องฟ้า ชบา และ สร้อยทอง…
บานบุรี ยี่สุ่น ขจร
ประดู่ พุดซ้อน พลับพลึง หงอนไก่ พิกุล ควรปอง
งาม ทานตะวัน รักเร่ กาหลง ประยงค์ พวงทอง
บานชื่น สุขสอง พุทธชาด สะอาดแซม
(ซ้ำ)…พิศ พวงชมพู
กระดังงา เลื้อยเคียงคู่ ดูสดสวยแฉล้ม
รสสุคนธ์ บุญนาค นางแย้ม สารภี ที่ถูกใจ…
…งาม อุบล ปน จันทร์กะพ้อ
ผีเสื้อแตกกอ พร้อมเล็บมือนาง พุดตาน กล้วยไม้
ดาวเรือง อัญชัน ยี่หุบ มะลิวัลย์ แลวิไล
ชูช่อไสว เร้าใจในอุทยาน…(ซ้ำ)