ดอกจันทน์กะพ้อ
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Vatica diospyroides Sym. |
ชื่อวงศ์ | DIPTEROCARPACEAE |
ชื่อสามัญ | – |
ชื่ออื่นๆ | จันทน์พ้อ |
ถิ่นกำเนิด | ประเทศแถบเอเชีย |
การขยายพันธุ์ | เพาะเมล็ด |
ประวัติและข้อมูลทั่วไป | |
– | |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ | |
ลำต้นสูงประมาณ 6-15 เมตรไม่ผลัดใบ เรือนยอดกลม ต้นแตกกิ่งจำนวนมากที่ยอด กิ่งเปราะ มีน้ำยางใสซึมออกมาตามรอยแตก โตเร็ว ใบเดี่ยว ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบแก่สีเขียวเข้มเป็นมัน รูปรีแกม ขอบขนานหรือรูปใบหอก โคนใบเบี้ยว และจะหลุดร่วงไปตามอายุ ดอกออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ที่ซอกใบและปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีขาวหรือเหลืองอ่อน กลีบดอกมีขนนุ่มสีน้ำตาล ดอกทยอยบานในเวลาใกล้เคียงกัน ประมาณเดือน พฤศจิกายน-มีนาคม ใช้เวลาประมาณ 5-7 ปีจึงจะออกดอก | |
การปลูกและดูแลรักษา | |
จันทน์กะพ้อ เติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้ง มีความชื้นสูง หรือบริเวณริมน้ำ |
เพลงอุทยานดอกไม้
ชม ผกา จำปา จำปี
กุหลาบ ราตรี พะยอม อังกาบ ทั้ง กรรณิการ์
ลำดวน นมแมว ซ่อนกลิ่น ยี่โถ ชงโค มณฑา
สายหยุด เฟื่องฟ้า ชบา และ สร้อยทอง…
บานบุรี ยี่สุ่น ขจร
ประดู่ พุดซ้อน พลับพลึง หงอนไก่ พิกุล ควรปอง
งาม ทานตะวัน รักเร่ กาหลง ประยงค์ พวงทอง
บานชื่น สุขสอง พุทธชาด สะอาดแซม
(ซ้ำ)…พิศ พวงชมพู
กระดังงา เลื้อยเคียงคู่ ดูสดสวยแฉล้ม
รสสุคนธ์ บุญนาค นางแย้ม สารภี ที่ถูกใจ…
…งาม อุบล ปน จันทร์กะพ้อ
ผีเสื้อแตกกอ พร้อมเล็บมือนาง พุดตาน กล้วยไม้
ดาวเรือง อัญชัน ยี่หุบ มะลิวัลย์ แลวิไล
ชูช่อไสว เร้าใจในอุทยาน…(ซ้ำ)