ดอกเล็บมือนาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Quisqualis Indica |
ชื่อวงศ์ | COMBRETACEAE |
ชื่อสามัญ | Rangoon Creeper |
ชื่ออื่นๆ | เล็บนาง, จะมั่ง, ไม้หม่อง |
ถิ่นกำเนิด | ประเทศอินเดีย |
การขยายพันธุ์ | ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง |
ประวัติและข้อมูลทั่วไป | |
นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับสวยงาม ปลูกประดับตามซุ้มหรือให้เลื้อยเกาะรั้ว ปลูกเลี้ยงง่ายเจริญเติบโตเร็ว ดอกมีกลิ่นหอม | |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ | |
เล็บมือนางเป็นไม้เถา ลำต้นค่อนข้างแข็ง ขึ้นเป็นพุ่มแน่น ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม มีขนปกคลุมประปราย ใบรูปหอกปลายแหลม โคนใบแคบ กลางใบกว้างประมาณ 4-6 ซม. ยาว 12-15 ซม. ดอกออกเป็นช่อ เมื่อเริ่มบานมีสีขาวหรือสีชมพูอ่อนเมื่อบานเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้ม ช่อดอกยาว 10-30 ซม. ดอกย่อยมีก้านดอกยาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปทรงกระบอก ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 ซม. ดอกย่อยทยอยบาน เมื่อใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีแดง มีกลิ่นหอมแรงตั้งแต่พลบค่ำจนเช้า ดอกบานได้ 3-4 วัน ออกดอกได้ตลอดปี | |
การปลูกและดูแลรักษา | |
เล็บมือนางเป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการแสงแดดจัด ดินปลูกควรเป็นดินร่วนซุย ธาตุอาหารสมบูรณ์ สามารถเก็บความชื้นได้สูง ควรหาวัสดุคลุมดินช่วยด้วย |
เพลงอุทยานดอกไม้
ชม ผกา จำปา จำปี
กุหลาบ ราตรี พะยอม อังกาบ ทั้ง กรรณิการ์
ลำดวน นมแมว ซ่อนกลิ่น ยี่โถ ชงโค มณฑา
สายหยุด เฟื่องฟ้า ชบา และ สร้อยทอง…
บานบุรี ยี่สุ่น ขจร
ประดู่ พุดซ้อน พลับพลึง หงอนไก่ พิกุล ควรปอง
งาม ทานตะวัน รักเร่ กาหลง ประยงค์ พวงทอง
บานชื่น สุขสอง พุทธชาด สะอาดแซม
(ซ้ำ)…พิศ พวงชมพู
กระดังงา เลื้อยเคียงคู่ ดูสดสวยแฉล้ม
รสสุคนธ์ บุญนาค นางแย้ม สารภี ที่ถูกใจ…
…งาม อุบล ปน จันทร์กะพ้อ
ผีเสื้อแตกกอ พร้อมเล็บมือนาง พุดตาน กล้วยไม้
ดาวเรือง อัญชัน ยี่หุบ มะลิวัลย์ แลวิไล
ชูช่อไสว เร้าใจในอุทยาน…(ซ้ำ)