ต้นไม้ประจำจังหวัดชลบุรี ต้นประดู่ป่า

ต้นประดู่ป่า
ต้นไม้ประจำจังหวัดชลบุรี

ต้นไม้ประจำจังหวัดชลบุรี ต้นประดู่ป่า

ต้นไม้ประจำจังหวัด
ชลบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้
ต้นประดู่ป่า
ชื่อสามัญ
Bermese Ebony
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pterocarpus macrocarpus Kurz
วงศ์
PAPILLIONACEAE
ชื่ออื่น
จิต๊อก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ฉะนอง (เชียงใหม่), ดู่ ดู่ป่า (ภาคเหนือ), ตะเลอ เตอะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ประดู่ ประดู่ป่า (ภาคกลาง) ประดู่ ประดู่เสน (ราชบุรี, สระบุรี)
ลักษณะทั่วไป
ต้นประดู่ป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 15–25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ด เปลือกในมีน้ำเลี้ยงสีแดง เนื้อไม้สีขาวอมเหลือง แก่นสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่ง โคนใบมน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ รูปดอกถั่ว กลีบดอกสีเหลืองอ่อนกลิ่นหอม ผลแผ่เป็นปีกแบนๆ มีขนาดใหญ่กว่าประดู่บ้าน และมีขนปกคลุมทั่วไป
ขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
ดินร่วน ทนแล้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิด
ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งทั่วไป

คำขวัญประจำจังหวัดชลบุรี
ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักสานดี ประเพณีวิ่งควาย


ต้นไม้ประจำจังหวัด

ภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคกลาง

ภาคตะวันออก

ภาคตะวันตก

ภาคใต้

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง