ต้นทองหลางลาย
ต้นไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี
ต้นไม้ประจำจังหวัด
ปทุมธานี
ชื่อพันธุ์ไม้
ต้นทองหลางลาย
ชื่อสามัญ
Indian Coral Tree, Variegated Tiger’s claw
ชื่อวิทยาศาสตร์
Erythrina variegata Linn.
วงศ์
LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น
ทองบ้าน, ทางเผือก (ภาคเหนือ), ทองหลางด่าง, ทองหลางลาย (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทั่วไป
ต้นทองหลางลายเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5–10 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามเรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางจะโตกว่าสองใบด้านข้าง ออกดอกเป็นช่อยาวประมาณ 30–40 ซม. รูปดอกถั่ว สีแดงเข้ม ออกดอกระหว่างเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักยาว 15–30 ซม.
ขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ด และปักชำ
สภาพที่เหมาะสม
สภาพดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด
เอเชียเขตร้อนและอบอุ่น
คำขวัญประจำจังหวัดปทุมธานี
ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม
ต้นไม้ประจำจังหวัด
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กาฬสินธุ์ขอนแก่นชัยภูมินครพนมนครราชสีมาบึงกาฬบุรีรัมย์มหาสารคามมุกดาหารยโสธรร้อยเอ็ดเลยศรีสะเกษสกลนครสุรินทร์หนองคายหนองบัวลำภูอำนาจเจริญอุดรธานีอุบลราชธานี
ภาคกลาง
กรุงเทพมหานครกำแพงเพชรชัยนาทนครนายกนครปฐมนครสวรรค์นนทบุรีปทุมธานีพระนครศรีอยุธยาพิจิตรพิษณุโลกเพชรบูรณ์ลพบุรีสมุทรปราการสมุทรสงครามสมุทรสาครสระบุรีสิงห์บุรีสุโขทัยสุพรรณบุรีอ่างทองอุทัยธานี