ต้นพะยูง
ต้นไม้ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู
ต้นไม้ประจำจังหวัด
หนองบัวลำภู
ชื่อพันธุ์ไม้
ต้นพะยูง
ชื่อสามัญ
Siamese Rosewood
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dalbergia cochinchinensis Pierre
วงศ์
LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น
กระยง กระยูง (เขมร-สุรินทร์), ขะยูง (อุบลราชธานี), แดงจีน (ปราจีนบุรี), ประดู่ตม (จันทบุรี), ประดู่ลาย (ชลบุรี), ประดู่เสน (ตราด), พะยูง (ทั่วไป),
พะยูงไหม (สระบุรี)
พะยูงไหม (สระบุรี)
ลักษณะทั่วไป
ต้นพะยูงเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–20 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีแดงอมม่วงถึงสีเลือดหมูแก่ มีริ้วดำ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ลักษณะคล้ายใบประดู่ ดอกขนาดเล็ก สีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและตามปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบบบาง ตรงบริเวณที่หุ้มเมล็ด เมล็ดรูปไตสีน้ำตาลเข้ม
ขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
ดินทุกชนิด ทนแล้ง
ถิ่นกำเนิด
ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณชื้น ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก
คำขวัญประจำจังหวัดหนองบัวลำภู
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานดำ แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน
ต้นไม้ประจำจังหวัด
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กาฬสินธุ์ขอนแก่นชัยภูมินครพนมนครราชสีมาบึงกาฬบุรีรัมย์มหาสารคามมุกดาหารยโสธรร้อยเอ็ดเลยศรีสะเกษสกลนครสุรินทร์หนองคายหนองบัวลำภูอำนาจเจริญอุดรธานีอุบลราชธานี
ภาคกลาง
กรุงเทพมหานครกำแพงเพชรชัยนาทนครนายกนครปฐมนครสวรรค์นนทบุรีปทุมธานีพระนครศรีอยุธยาพิจิตรพิษณุโลกเพชรบูรณ์ลพบุรีสมุทรปราการสมุทรสงครามสมุทรสาครสระบุรีสิงห์บุรีสุโขทัยสุพรรณบุรีอ่างทองอุทัยธานี