ว่านเพชรสังฆาตชื่อวิทยาศาสตร์Cissus quadrangularis Linn. วงศ์VITACEAE ชื่อสามัญ– ชื่ออื่นๆขั่นข้อ (ราชบุรี), สันชะควด (กรุงเทพฯ), สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์), ว่านสามเหลี่ยม (เชียงใหม่), ว่านเพชรหึง (ภาคกลาง) ลักษณะทั่วไปว่านเพชรสังฆาตเป็นไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยม เป็นข้อๆ ต่อกัน แต่ละข้อยาวประมาณ 5-10 ซม. มีมือสำหรับเกาะยึดออกตามข้อต่อตรงข้ามใบ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับตามข้อต้น รูปสามเหลี่ยมคล้ายกับใบตำลึง ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่างๆ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ก้านใบสีเขียวกลมยาวประมาณ 2-5 ซม. ดอกออกเป็นช่อแบนตามข้อต้นตรงข้ามกับใบ ดอกสีเขียวอ่อน กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านด้านนอกมีสีแดง ด้านในสีเขียวอ่อน เมื่อบานเต็มที่ดอกจะงองุ้มไปด้านล่าง เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผลรูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว สุกสีแดงเข้มเกือบดำ เมล็ดกลมสีน้ำตาล มี 1 เมล็ด การปลูกเพชรสังฆาตปลูกขึ้นง่าย ทนแล้ง ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ชอบดินร่วนซุยที่มีอินทรียวัตถุและไม่มีน้ำขังแฉะ ควรทำค้างให้ลำต้นเจริญเลื้อยเกาะ และหมั่นตัดแต่งเถา หลังปลูกประมาณ 2 ปี จึงตัดเถามาใช้ทำยาได้ การขยายพันธุ์ขยายพันธุ์โดยใช้ข้อไปปักชำ สรรพคุณทางยาน้ำจากต้นใช้หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล ใช้เป็นยาธาตุให้เจริญอาหาร ใบยอดอ่อนใช้รักษาโรคลำไส้เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย เถานำมาเคี้ยวกินวันละข้อติดต่อกัน 3 วัน ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารหนัก ว่าน ไม้ประดับนามมงคลวงศ์พลับพลึง AMARYLLIDACEAEวงศ์บอน ARACEAEวงศ์ทานตะวัน COMPOSITAEวงศ์เปล้า EUPHORBIACEAEวงศ์ธรรมรักษา HELICONIACEAEวงศ์ไอริส IRIDACEAEวงศ์ลิลลี่ LILIACEAEวงศ์คล้า MARANTHACEAEวงศ์กล้วยไม้ ORCHIDACEAEวงศ์ไม้เท้ายายม่อม TACCACEAEวงศ์องุ่น VITACEAEวงศ์ขิง ZINGIBERACEAE |
||