ว่านแร้งคอดำชื่อวิทยาศาสตร์Crinum latifolium Linn. วงศ์AMARYLLEDACEAE ชื่อสามัญ– ชื่ออื่นๆว่านแร้งคอดำ, ว่านคอแดง (กรุงเทพฯ), ว่านแร้งคอคำ (ภาคกลาง), ว่านคอแดง (ภาคใต้) ลักษณะทั่วไปเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน ลักษณะหัวกลมคล้ายหอมหัวใหญ่ ใบมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานยาวเรียว ขอบใบเป็นคลื่นบาง มีความยาวประมาณ 60-90 ซม. กว้างประมาณ 7-10 ซม. ดอกออกเป็นช่อ เป็นกระจุกประมาณ 10-20 ดอก ตรงปลายช่อ ดอกตูมมีลักษณะเป็นรูปหอกมีกาบหุ้มยาวประมาณ 7-10 ซม. อยู่บนก้านดอกสั้นๆ ก้านดอกอวบหนามีความยาวประมาณ 60-90 ซม. กลีบดอกแยกเป็น 6 กลีบ และมีความกว้างกว่าดอกพลับพลึง เป็นสีขาว หรือแต้มด้วยสีแดงตรงกลาง หรือทางด้านหลังของกลีบ ส่วนเกสรตัวผู้จะมีอู่ 6 อัน และมีอับเรณูเป็นรูปโค้ง การปลูกชอบดินร่วนปนทราย ที่ระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นสม่ำเสมอ ควรอยู่ที่แดดรำไร การขยายพันธุ์ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ ความเป็นมงคลเป็นว่านคงกระพันชาตรี ใช้หัวพกติดตัวหรือกินหัวว่านก็ได้ สรรพคุณทางยาใช้หัวฝนทารักษาอาการเคล็ด ขัดยอก บวม หรือจะใช้หัวดองกับเหล้ากินเป็นยาชักมดลูก เหมาะสำหรับผู้หญิงที่คลอดลูกใหม่ๆ รักษาโรคเกี่ยวกับอาการปวดในข้อ รักษาโรคริดสีดวงทวาร และฝี ส่วนน้ำที่ได้จากใบใช้รักษาอาการปวดหู ว่าน ไม้ประดับนามมงคลวงศ์พลับพลึง AMARYLLIDACEAEวงศ์บอน ARACEAEวงศ์ทานตะวัน COMPOSITAEวงศ์เปล้า EUPHORBIACEAEวงศ์ธรรมรักษา HELICONIACEAEวงศ์ไอริส IRIDACEAEวงศ์ลิลลี่ LILIACEAEวงศ์คล้า MARANTHACEAEวงศ์กล้วยไม้ ORCHIDACEAEวงศ์ไม้เท้ายายม่อม TACCACEAEวงศ์องุ่น VITACEAEวงศ์ขิง ZINGIBERACEAE |
||