ว่านเปราะหอมชื่อวิทยาศาสตร์Kaempferia galanga Linn. วงศ์ZINGIBERACEAE ชื่อสามัญ– ชื่ออื่นๆว่านตีนดิน ว่านแผ่นดินเย็น ว่านหอม (ภาคเหนือ) หอมเปราะ (ภาคกลาง) ลักษณะทั่วไปเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุกที่มีลำต้นหรือเหง้าใต้ดิน ลักษณะหัวว่านเป็นเหง้ากลมเหมือนหัวกระชาย รากมีตุ่มน้ำเลี้ยง เนื้อในหัวสีเขียวอ่อน มีกลิ่นหอมเย็น ใบเป็นใบเดี่ยวแทงออกมาจากเหง้า แผ่ราบไปตามพื้นดิน ใบอ่อนม้วนเป็นกระบอกออกมาแล้วแผ่ราบบนหน้าดิน ก้านใบเป็นกาบ ใบค่อนข้างกลม โคนใบมนปลายแหลม ขอบใบเว้าเล็กน้อย มีขนอ่อนบริเวณท้องใบ เนื้อใบหนา แผ่นใบเขียวคล้ำหนา มีกลิ่นหอมเย็น ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกจากลำต้นใต้ดินแทงขึ้นมากลางต้นระหว่างกาบใบ ดอกมีสีขาวประแต้มด้วยสีชมพูอมม่วง ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่คล้ายกลีบดอกที่แปรรูปมาจากเกสรตัวผู้สี่อันที่เป็นหมัน การปลูกปลูกในดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำได้ดี กลบดินพอมิดหัวว่าน ปลูกในที่แสงแดดรำไร การขยายพันธุ์ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อหรือเหง้าหัว ความเป็นมงคลเป็นว่านเมตตามหานิยม หากมีปลูกไว้ที่บ้านหรือร้านค้าจะดี ยิ่งว่านเจริญงอกงามดีจะยิ่งส่งผลให้เจ้าของมีโชคลาภและเจริญรุ่งเรือง หัวว่านใช้หุงน้ำมัน หรือตำผสมอาบน้ำว่าน หรือแช่น้ำมันจันทน์ จะเป็นมหาเสน่ห์ยิ่งนัก หรือใช้หัวว่านพกพาติดตัว เพราะเป็นยอดทางเสน่ห์เมตตามหานิยม จึงเป็นที่นิยมใช้ทั้งเรื่องการค้าขาย และการทำให้เป็นที่นิยมแก่ผู้คน สรรพคุณทางยาใบรสเผ็ดขม แก้เกลื้อนช้าง หัวหรือต้นใต้ดิน มีรสเผ็ดร้อน ใช้สุมศีรษะเด็กแก้หวัดคัดจมูก แก้ลมพิษ รับประทานขับลมในลำไส้ แก้เสมหะ แก้เสมหะเจริญไฟธาตุ แก้ลงท้อง ต้นมีรสเผ็ดและขม ใช้ขับเลือดเน่าของสตรี แก้ท้องขึ้นท้องเฟ้อ ดอก มีรสหอมร้อน ใช้แก้เด็กนอนสะดุ้งผวา ร้องไห้ตาเหลือก และแก้โรคตา ใบใช้แก้เกลื้อนช้าง ว่าน ไม้ประดับนามมงคลวงศ์พลับพลึง AMARYLLIDACEAEวงศ์บอน ARACEAEวงศ์ทานตะวัน COMPOSITAEวงศ์เปล้า EUPHORBIACEAEวงศ์ธรรมรักษา HELICONIACEAEวงศ์ไอริส IRIDACEAEวงศ์ลิลลี่ LILIACEAEวงศ์คล้า MARANTHACEAEวงศ์กล้วยไม้ ORCHIDACEAEวงศ์ไม้เท้ายายม่อม TACCACEAEวงศ์องุ่น VITACEAEวงศ์ขิง ZINGIBERACEAE |
||