ว่านหอมแดงชื่อวิทยาศาสตร์Eleutherine americana Merr. วงศ์IRIDACEAE ชื่อสามัญ– ชื่ออื่นๆบ่อเจอ เพาะบีเบ (กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ว่านไก่แดง ว่านเข้า ว่านเพลาะ (เชียงใหม่) ว่านหมาก หอมแดง (ภาคกลาง) ลักษณะทั่วไปเป็นพืชล้มลุก มีหัวเป็นแบบกลีบขนาดเล็กอยู่ใต้ดิน มีสีแดง ลักษณะคล้ายหัวหอม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปดาบ จีบพับซ้อนกันคล้ายพัด กว้าง 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 25-60 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบแคบ ขอบใบเรียบมีขนเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว 2.5-4 เซนติเมตร มักโค้งงอ มีกาบหุ้มดอก สีเขียว 2-10 อัน ซ้อนกันอยู่ที่ง่ามใบใกล้ยอด ดอกมี 4-10 ดอก ก้านดอกยาว 1-1.5 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาวมี 6 กลีบ รูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ เรียงเป็น 2 ชั้น กลีบที่อยู่ชั้นในมีขนาดเล็กกว่ากลีบที่อยู่ชั้นนอก การปลูกปลูกในดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำได้ดี ผสมปุ๋ยคอกและพืชตระกูลถั่วที่ผุเปื่อย ห้ามใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ รดน้ำแต่พอดี ไม่แฉะจนเกินไป การขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ สรรพคุณทางยานำหัวมาทุบให้แตก ผสมกับเปราะหอม เป็นยาสุมหัว (โปะกระหม่อมเด็ก) รักษาอาการเด็กเป็นหวัด คัดจมูก หายใจไม่ออกและยังใช้หัวบดทาท้องเด็กแก้เด็กท้องอืด ใช้หัวทุบชงหรือต้มกินน้ำ เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปวดท้อง ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด แก้ดีพิการ แก้เลือดออกตามไรฟัน ว่านหอมแดงยังมีสรรพคุณในการแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย โดยนำหัวมาฝานแล้วทาแปะไว้บริเวณที่ถูกกัด หรือใช้หัวว่านหอมแดงผสมกับหอมแดงที่ใช้แกง กระเทียม ๔-๕ กลีบ เกลือเม็ดเล็กน้อย ตำผสมกันแล้วนำไปแปะที่แผลจะช่วยสมานแผลได้ดี ว่าน ไม้ประดับนามมงคลวงศ์พลับพลึง AMARYLLIDACEAEวงศ์บอน ARACEAEวงศ์ทานตะวัน COMPOSITAEวงศ์เปล้า EUPHORBIACEAEวงศ์ธรรมรักษา HELICONIACEAEวงศ์ไอริส IRIDACEAEวงศ์ลิลลี่ LILIACEAEวงศ์คล้า MARANTHACEAEวงศ์กล้วยไม้ ORCHIDACEAEวงศ์ไม้เท้ายายม่อม TACCACEAEวงศ์องุ่น VITACEAEวงศ์ขิง ZINGIBERACEAE |
||