ว่านเสน่ห์ขุนแผนชื่อวิทยาศาสตร์Calathea majestica M.Kenn. CU.Roseo-Lineata. วงศ์MARANTHACEAE ชื่อสามัญ– ชื่ออื่นๆว่านขุนแผน, เสน่ห์ขุนแผน, สามกษัตริย์ ลักษณะทั่วไปเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุกที่มีลำต้นใต้ดิน หัวมีสีเหลืองออกน้ำตาล มีรากใหญ่และแข็งแรง ใบมีลักษณะเป็นใบรีรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือตัดห่อตัวเข้าหาก้านใบ ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน มีลายเส้นริ้วคล้ายก้างปลาพาดทั้งสองข้างของแผ่นใบ เมื่อใบอ่อน เส้นพาดจะมีสีชมพู เมื่อแก่จะจางลงเป็นสีขาว จึงได้ชื่อว่าว่านสามกษัตริย์ ท้องใบมีสีม่วงแดง ลักษณะใบกว้าง แข็งและก้านใบยาว ดอกสีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดที่ปลายกิ่ง มีกาบรองดอกตั้งแต่สองใบขึ้นไปดอกย่อยมี กลีบเลี้ยงไม่เชื่อมติดกันชั้นของกลีบดอกเป็นท่อ แบ่งเป็นกลีบ 2-3 กลีบ โดยมีหนึ่งกลีบที่โค้งงอลง การปลูกปลูกโดยใช้ดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์และระบายน้ำได้ดีเป็นดินปลูก เมื่อลงปลูกควรกลบดินให้มิดหน่อที่แยกมาปลูกหรือกลบให้พอมีหัวโผล่ดินบ้าง ปลูกไว้ในที่แสงแดดรำไร รดน้ำสม่ำเสมอแต่อย่าให้น้ำขังแฉะ การขยายพันธุ์ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อหรือแง่ง ความเป็นมงคลเป็นว่านเสี่ยงทายของเจ้าของว่าน ถ้าว่านเจริญงอกงามดีย่อมหมายถึงว่าเจ้าของว่านเป็นผู้มีความเป็นอยู่เจริญดีมีความสุข และยังเป็นว่านเมตตามหานิยม บรรดานักเลงเจ้าชู้ทั้งหลายพยายามเสาะหาไว้เพราะเป็นว่านมหาเสน่ห์ชนิดหนึ่ง พ่อหม้าย แม่หม้าย หากมีไว้บูชาจักมีผู้เชยชมมิได้ขาด ว่าน ไม้ประดับนามมงคลวงศ์พลับพลึง AMARYLLIDACEAEวงศ์บอน ARACEAEวงศ์ทานตะวัน COMPOSITAEวงศ์เปล้า EUPHORBIACEAEวงศ์ธรรมรักษา HELICONIACEAEวงศ์ไอริส IRIDACEAEวงศ์ลิลลี่ LILIACEAEวงศ์คล้า MARANTHACEAEวงศ์กล้วยไม้ ORCHIDACEAEวงศ์ไม้เท้ายายม่อม TACCACEAEวงศ์องุ่น VITACEAEวงศ์ขิง ZINGIBERACEAE |
||