ทุเรียน

ทุเรียน

ทุเรียน ปลูกต้นไม้ตามทิศ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Durio zibethinus Linn.

ชื่อวงศ์

BOMBACEACEAE

ชื่อท้องถิ่น

  • ภาคเหนือ เรียก มะทุเรียน
  • ภาคใต้ เรียก เรียน
  • มาเลเซีย-ใต้ เรียก ดือแย

ลักษณะทั่วไป

ทุเรียนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบแข็งและหนายาว สีเขียวแก่เป็นมัน ท้องใบเป็นสีน้ำตาล ปลายใบมีติ่งแหลมเรียว รูปไข่ยาว ดอกมีกลีบแข็งหนา ผลมีหนามแหลม เปลือกหนา เนื้อในสุกหวานหอม กลิ่นฉุนมากรับประทานเป็นผลไม้

การปลูก

ปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทย มีมากทางภาคใต้ ขยายพันธุ์โดยใช้วิธีตอนกิ่งจะได้พันธุ์ตรงตามต้นแม่

สรรพคุณทางยา

  • ใบ รสขม เย็นเฝื่อน สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ดีซ่าน ขับพยาธิ และทำให้หนองแห้ง
  • เนื้อหุ้มเมล็ด รสหวาน ร้อน ทำให้ความร้อน แก้โรคผิวหนัง ทำให้ฝีแห้ง และขับพยาธิ
  • เปลือกลูก รสฝาดเฝื่อน สมานแผล แก้น้ำเหลืองเสีย พุพอง แก้ฝี ตาน ซาง คุมธาตุ แก้คางทูม และไล่ยุงและแมลง
  • ราก รสฝาดขม แก้ไข้ และแก้ท้องร่วง

คติความเชื่อ

บางตำราว่าเป็นต้นไม้ตามทิศ ที่ควรปลูกไว้ในบริเวณบ้านโดยให้ปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ถือเป็นเคล็ดลับว่า “ความเป็นผู้คงแก่เรียน”


ทิศอุดร (ทิศเหนือ)

ทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)

ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)

ทิศอาคเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)

ทิศทักษิณ (ทิศใต้)

ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)

ทิศประจิม (ทิศตะวันตก)

ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง