กระถิน

กระถิน

กระถิน

ชื่อวิทยาศาสตร์

Leucaena leucocephalade wit

ชื่อวงศ์

LEGUMINOSAE-MINOSOIDEAE

ชื่อท้องถิ่น

  • ภาคกลาง เรียก กระถินไทย กระถินดอกขาว กระถินหัวหงอก
  • ภาคใต้ เรียก สะตอเทศ สะตอเบา สะตอบ้าน
  • ทั่วไป เรียก กระถิน กระถินน้อย กระถินบ้าน ผักก้านถิน กะตง

ลักษณะทั่วไป

กระถินเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ก้านแขนงสั้น มีขน ใบย่อยเรียงตรงข้าม รูปแถบหรือรูปขอบขนานแกมรูปแถบ ปลายแหลม โคนเบี้ยว ขอบมีขน ท้องใบสีนวล ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอกออกแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามง่ามใบ ช่อเป็นฝอยนุ่มมีกลิ่นหอมเล็กน้อย ผลเป็นฝัก ฝักออกเป็นช่อแบนยาว เห็นเมล็ดเป็นจุดๆ ในฝักตลอดฝัก

การปลูก

กระถินทนความแห้งแล้งได้ดี และเติบโตเร็ว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

สรรพคุณทางยา

  • ดอก รสมัน บำรุงตับ
  • ราก รสจืดเฝื่อน ขับลม ขับระดูขาว และเป็นยาอายุวัฒนะ
  • เมล็ด ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม (ascariasis)

คติความเชื่อ

ตามตำราหลวงกล่าวไว้ว่า กระถินเป็นไม้มงคลที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ (อาคเนย์) โดยปลูกร่วมกับต้นสารภี เชื่อว่าจะป้องกันสิ่งเลวร้ายได้

กระถิน


ทิศอุดร (ทิศเหนือ)

ทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)

ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)

ทิศอาคเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)

ทิศทักษิณ (ทิศใต้)

ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)

ทิศประจิม (ทิศตะวันตก)

ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง