ตะโกสวน
ชื่อวิทยาศาสตร์
Diospyros malabarica Kostel
ชื่อวงศ์
EBENACEAE
ชื่อท้องถิ่น
- ภาคกลาง เรียก ตะโกสวน ตะโกไทย ตะโก
- สกลนคร เรียก มะเขือ
- เพชรบุรี เรียก ปลาบ
ลักษณะทั่วไป
ตะโกสวนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15 เมตร เปลือกสีดำแตกเป็นสะเก็ดหนา ใบโตยาวคล้ายใบชมพู่ไทย แต่ใบหนากว่ามาก ผลโตเหมือนตะโกนา แต่โตและยาวกว่า
การปลูก
ตะโกสวนขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สรรพคุณทางยา
- เปลือกและผลอ่อน รสฝาดเฝื่อน ลดไข้ แก้บิด แก้ท้องร่วง และแก้ไข้มาลาเรีย
- เปลือกและผลแก่ รสฝาดเฝื่อนหวาน รักษาแผลในปาก และแก้คออักเสบ
- ผลดิบ รสฝาด สมานแผล ห้ามเลือด แก้บิด และแก้ท้องร่วง
- เมล็ด รสฝาดเฝื่อน แก้บิด และแก้ท้องร่วง
คติความเชื่อ
บางตำราว่าเป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ทางทิศใต้ (ทักษิณ) แต่ยังหาหลักฐานยืนยันไม่ได้แน่ชัด สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะ ตะโกเป็นไม้ที่มีอายุยืน ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี จึงอยากให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านมีความอดทนต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนดังตะโก