มะพูด

มะพูด

มะพูด

ชื่อวิทยาศาสตร์

Garcinia duleis Kurz

ชื่อวงศ์

GUTTIFERAE

ชื่อท้องถิ่น

  • ทั่วไป เรียก มะพูด
  • ภาคอีสาน เรียก ปะหูด, มะหูด
  • เขมร เรียก ประโฮด, มะนู, ตะพูด, จำพูด, พะวา, ส้มปอง, ส้มม่วง

ลักษณะทั่วไป

มะพูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบใหญ่ หนา มัน เป็นรูปไข่ยาวรีคล้ายใบมังคุด แต่ปลายใบจะแหลมกว่า ดอกสีเขียวอมเหลือง ผลใหญ่ขนาดส้มเขียวหวานผลดกออกตามกิ่ง ผลดิบสีเขียว ผลแก่มีสีเหลือง เมื่อสุกจะมีสีส้ม เนื้อในผลสีเหลืองจำปา รสเปรี้ยวอมหวาน รับประทานเป็นอาหารได้

การปลูก

ใช้กล้าปักชำ

สรรพคุณทางยา

  • น้ำคั้นจากลูก รสเปรี้ยวอมหวาน แก้ไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ และแก้เลือดออกตามไรฟัน
  • ราก รสจืด แก้ไข้ แก้ร้อนใน และถอนพิษผิดสำแดง
  • เปลือก มีรสฝาด ใช้ชำระบาดแผล

คติความเชื่อ

มะพูดเป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ในบริเวณบ้าน โดยปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ) เชื่อว่าคนโบราณปลูกเอาเคล็ดเพื่อหวังให้ลูกหลานเป็นคนช่างพูดช่างเจรจาในสิ่งที่ดีงาม เพราะคนที่พูดจาไพเราะก็จะมีคนชื่นชอบกันมาก

มะพูด


ทิศอุดร (ทิศเหนือ)

ทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)

ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)

ทิศอาคเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)

ทิศทักษิณ (ทิศใต้)

ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)

ทิศประจิม (ทิศตะวันตก)

ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง