ราชพฤกษ์

ราชพฤกษ์

ราชพฤกษ์

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cassia fistula Linn

ชื่อวงศ์

CAESALPINIACEAE

ชื่อสามัญ

Golden Shower, Indian Laburnum, Pudding-Pine Tree, Purging Cassia

ชื่อท้องถิ่น

  • ภาคเหนือ เรียก ลมแล้ง
  • ภาคใต้ เรียก อ้อดิบ
  • ปัตตานี เรียก ลักเกลือ ลักเคย
  • ภาคกลาง เรียก ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์
  • กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี เรียก กุเพยะ
  • กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียก ปือยู, ปูโย, เปอโซ, แมะหล่าอยู่
  • อีสาน เรียก คูน

ลักษณะทั่วไป

ชัยพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นสูงได้ถึง 15 เมตร เปลือกต้นสีเทา ผิวเรียบ ใบเป็นใบประกอบ ที่ปลายก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม เนื้อใบเกลี้ยงค่อนข้างบางหูใบมีขนาดเล็กและร่วงง่าย ดอก ออกเป็นช่อห้อยระย้าจากซอกใบ ช่อดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีแผ่นบางๆ ยาว 1.15 ซม. กลีบดอกมี 5 กลีบ สีเหลืองสดปลายมนเห็นเส้นลายชัดเจน ผลเป็นฝักทรงกระบอก เปลือกนอกบางและแข็งเหมือนไม้ เรียบไม่มีขนยาว 20–60 ซม. มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5–2 ซม. ภายในแบ่งเป็นช่องๆ มีเมล็ดรูปรีแบนสีน้ำตาลจำนวนมาก

การปลูก

เพาะเมล็ดให้ได้ต้นกล้าสูง 30–50 ซม. ขุดหลุมกว้างและลึก 50–70 ซม. ตากดินไว้ 10–15 วัน ใช้ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมนำต้นกล้าลงปลูก กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม ปลูกง่าย ไม่ช้าก็จะตั้งตัวได้

สรรพคุณทางยา

  • ฝัก รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย มีกลิ่นเหม็นเอียน เย็นจัด ไม่มีพิษสรรพคุณใช้ขับเสมหะ ขับพยาธิ แก้เด็กเป็นตานขโมย เป็นยาถ่ายและแก้ไข้มาลาเรีย
  • เนื้อในฝัก รสหวานเอียน ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ยาระบาย แก้ไข้มาลาเรีย แก้ปวดข้อ
  • เมล็ด เป็นยาระบายและทำให้อาเจียน
  • ดอก รสขมเปรี้ยว เป็นยาถ่าย แก้โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและแผลเรื้อรัง
  • ใบอ่อน รสเมา แก้กลาก

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

เนื้อในฝักคูนมีสารประเภท Anthraqinones หลายตัว เช่น Aloin, Rhein, Sennoside A, B และยังมี Organic acid สาร Anthraquinone ทำให้เนื้อฝักคูนมีฤทธิ์เป็นยาระบายได้ โดยมีฤทธิ์ไปกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ เหมาะสำหรับผู้ที่ท้องผูกเป็นประจำ

คติความเชื่อ

ชัยพฤกษ์หรือราชพฤกษ์เป็นไม้ที่มีคุณค่าสูง เป็นไม้มงคลนาม นิยมใช้ในพิธีสำคัญต่างๆ เช่น พิธีลงหลักเมือง ยอดธงชัยเฉลิมพลของทหาร คทาจอมพลจะใช้เสาแก่นชัยพฤกษ์ และอินธนูของข้าราชการพลเรือนก็ปักดิ้นทองเป็นรูปช่อชัยพฤกษ์

ราชพฤกษ์


ทิศอุดร (ทิศเหนือ)

ทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)

ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)

ทิศอาคเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)

ทิศทักษิณ (ทิศใต้)

ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)

ทิศประจิม (ทิศตะวันตก)

ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง