พิกุล

พิกุล

พิกุล

ชื่อวิทยาศาสตร์

Mimusops elengi L.

ชื่อวงศ์

Sapotaceae

ชื่อสามัญ

Bullet Wood Tanjong Tree

ชื่อท้องถิ่น

  • ภาคกลาง เรียก พิกุล
  • ภาคเหนือ เรียก มะเมา, แก้ว
  • ภาคอีสาน เรียก พิกุล
  • ภาคใต้ เรียก พิกุลป่า, พิกุลเขา, พิกุลเถื่อน

ลักษณะทั่วไป

พิกุลเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลางความสูง 5-15 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอกแคบๆ โคนใบแหลม ปลายใบมนหรือแหลม ใบเกลี้ยง ขอบใบเรียบเป็นคลื่น ดอกออกเป็นกระจุกใหญ่ตามปลายกิ่ง หรือตามง่ามใบ ดอกสีขาวมีกลิ่นหอม ออกระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ผลกลมรีหัวท้ายแหลม ผลสุกมีสีเหลือง สีส้มหรือสีแดง มี 1-2 เมล็ด

การปลูก

ขยายพันธุ์พิกุลโดยการตอนกิ่ง เพาะเมล็ด หรือปักชำกิ่ง

สรรพคุณทางยา

ดอกพิกุลมีกลิ่นหอมเย็นๆ นิยมใช้บูชาพระ เปลือกต้นพิกุลใช้ย้อมผ้า ต้มน้ำเกลืออมแก้ปวดฟันทำให้ฟันแน่น ดอกนำมากลั่นทำน้ำหอม น้ำจากดอกและผลใช้ล้างคอล้างปาก

คติความเชื่อ

ในตำราพรหมชาติฉบับหลวงกล่าวถึงพิกุลว่า เป็นไม้ตามทิศที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (หรดี) เพื่อป้องกันโทษร้ายต่างๆ นอกจากนี้ พิกุลเป็นพืชมีพุ่มใบหนาแน่น เหมาะแก่การปลูกไว้บังแดด แต่บางท้องถิ่นก็เห็นว่าไม่ควรปลูกไว้ในบริเวณบ้าน ควรปลูกไว้ตามวัดมากกว่า

พิกุล


ทิศอุดร (ทิศเหนือ)

ทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)

ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)

ทิศอาคเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)

ทิศทักษิณ (ทิศใต้)

ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)

ทิศประจิม (ทิศตะวันตก)

ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง