สะเดา

สะเดา

สะเดา

ชื่อวิทยาศาสตร์

Azadirachta indica Juss. Var. siamensis Valeton

ชื่อวงศ์

MELIACEAE

ชื่อสามัญ

Neem Tree

ชื่อท้องถิ่น

  • ภาคเหนือ เรียก สะเลียม
  • ภาคอีสาน เรียก กะเดา, กาเดา
  • ส่วย เรียก จะตัง
  • ภาคใต้ เรียก กะเดา, ไม้เดา, เดา

ลักษณะทั่วไป

สะเดาเป็นยืนต้นขนาดกลาง สูง 12–15 เมตร ขึ้นได้ในป่า หรือปลูกไว้ตามบ้าน ทุกส่วนมีรสขม เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกของลำต้นสีน้ำตาลเทาหรือเทาปนดำ แตกระแหงเป็นร่องเล็กๆ ตามต้น แต่เปลือกของกิ่งอ่อนเรียบ ใบ เป็นช่อแบบขนนก ใบย่อยรูปหอก ขอบใบหยัก ใบออกเวียนกัน ตอนปลายกิ่งจะผลิใบใหม่พร้อมกับผลิดอกในฤดูหนาว ดอก เป็นช่อสีขาว ผล กลมรี อวบน้ำ ผลแก่สีเหลือง ภายในผลมี 1 เมล็ด

การปลูก

สะเดาเป็นไม้ดั้งเดิมของเขตเอเชียอาคเนย์ พบทั่วไปในประเทศพม่า อินเดีย สะเดาพบในป่าเบญจพรรณและป่าแดง มักขึ้นปะปนกับไม้ใหญ่ สะเดาเป็นพันธุ์ไม่ปลูกง่าย โตเร็ว และเป็นพันธุ์บุกเบิกในที่แห้งแล้งได้ดี ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณทางยา

  • ใบอ่อน รสขม แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย และพุพอง
  • ใบแก่ รสขม บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร และฆ่าแมลงศัตรูพืช
  • ก้าน รสขม แก้ไข้ บำรุงน้ำดี และแก้ร้อนในกระหายน้ำ
  • ดอก รสขม แก้พิษโลหิต พิษกำเดา แก้ริดสีดวง คันในลำคอ และบำรุงธาตุ
  • ลูก รสขมเย็น บำรุงหัวใจให้เต้นเป็นปกติ และฆ่าแมลงศัตรูพืช

คุณค่าทางโภชนาการ

ทุกส่วนของสะเดามีรสขม นำยอดอ่อนและดอกสะเดาลวกน้ำร้อน 2-3 ครั้ง เพื่อให้หายขม รับประทานเป็นอาหารได้

คติความเชื่อ

คนโบราณนิยมปลูกต้นสะเดาไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (หรดี) เชื่อกันว่าจะป้องกันโรคร้ายต่างๆ ได้ ในบางทอ้งถิ่นเชื่อกันว่าใบและกิ่งของต้นสะเดาจะป้องกันภูตผีปีศาจได้

สะเดา


ทิศอุดร (ทิศเหนือ)

ทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)

ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)

ทิศอาคเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)

ทิศทักษิณ (ทิศใต้)

ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)

ทิศประจิม (ทิศตะวันตก)

ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง