ไผ่รวก
ชื่อวิทยาศาสตร์
Thyrsostachys siamensis Gamble
ชื่อวงศ์
GRAMINEAE
ชื่อท้องถิ่น
- ภาคกลาง เรียก ไผ่รวก
- ภาคเหนือ เรียก ไม้ฮวก
- เขมร-แม่ฮ่องสอน เรียก แวปัง
- กะเหรี่ยง-เชียงใหม่ เรียก แวบ้าง
- ฉาน-แม่ฮ่องสอน เรียก สะลอม
ลักษณะทั่วไป
ไผ่รวกเป็นไผ่ลำเล็กขึ้นชิดแน่นทึบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 ซม. สูง 5–10 เมตร ไม่มีหนาม หน้าใบมีขนเล็กๆ กาบหุ้มลำบางแนบชิดกับลำไม่หลุดร่วงเมื่อแก่ กาบหน่อสีขาว ปล้องยาว 7–23 ซม.
การปลูก
มีขึ้นเองตามป่าราบและบนเขาสูงๆ แพร่พันธุ์ด้วยหน่อซึ่งจะแทงออกมาจากโคนต้น
สรรพคุณทางยา
- ใบ รสขื่น เฝื่อน ขับและฟอกล้างโลหิต ขับระดูขาว แก้มดลูกอักเสบ และขับปัสสาวะ
- ตา รสเฝื่อน แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไขพิษ
- ราก รสกร่อย เอียนเล็กน้อย ใช้ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ ขับนิ่ว
- หน่อไม้ตาเต่า รสขื่นขม ติดจะร้อน แก้ตับหย่อน ตับทรุด ม้ามย้อย แก้กระษัย และเลือดเป็นก้อน
คติความเชื่อ
ไผ่รวกเป็นไม้ตามทิศที่กำหนดไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด